วัดสำราญนิเวศ (พระอารามหลวง)
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก    |  
 
   Main webboard   »   เว็บบอร์ด
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม  (Read: 14351 times - Reply: 18 comments)   
วชิรานนท์ บุญเย็น

Posts: 0 topics
Joined: none

วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
« Thread Started on 29/6/2554 12:26:00 IP : 113.53.46.213 »
 
                     วัดสุปัฏนารามวรวิหาร  วัดสุปัฏนารามวรวิหาร  เลขที่ 1 .สุปัฏน์ ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี  พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้คณะกรรมการเมืองอุบลราชธานี  มีเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 คือ พระพรหมราชวงศา (กุทอง)  ( ครองเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 แต่ พ..2388 – 2409 ) เป็นประธานพิจารณาหาพื้นที่สร้างวัดเห็นว่าบริเวณแห่งนี้ เป็นที่สงัด  สะดวกแก่ผู้ที่บำเพ็ญศาสนกิจและสะดวกแก่การออกบิณฑบาตเพราะเป็นท่าที่อยู่คุ้งน้ำพอดี   จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล ทรงโปรดเกล้าฯให้ลงมือปรับพื้นที่ในพ..2393 และแล้วเสร็จประกาศเป็นวัดในพ..2396 โดยพระราชทานนามว่า วัดสุปัฏนารามได้ทรงโปรดเกล้าฯให้เจ้าเมืองอุบลราชธานี ไปอาราธนา ท่านพันธุโล( ดี ) และท่านเทวธัมมี (ม้าว) มาครองวัด ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน 1.)    พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 10 ชั่ง (800 บาท) 2.) พระราชทานตั้งถวายเจ้าอาวาส เดือนละ 8 บาท  3.) ทรงตั้งคนทำงานประจำวัด 60 คน  เจ้าอาวาสรูปแรก ที่เจ้าเมืองอุบลราชธานีได้อาราธนามาปกครองวัด คือ  ท่านพันธุโล (ดี) เดิมท่านเกิดที่บ้านหนองไหล ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  ท่านบรรพชาอุปสมบทที่วัดหนองไหล ไปอยู่วัดเหนือในเมืองอุบลราชธานี ต่อมาท่านเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ภายหลังมีผู้นำถวายตัวในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวช ประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โดยเปลี่ยนจากมหานิกาย เป็นธรรมยุตนิกาย  วัดสุปัฏนารามถือได้ว่าเป็นวัดธรรมยุตนิกายเป็นวัดแรกของจังหวัดอุบลราชธานีและในภาคอีสานในระหว่างท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ขยายเครือข่ายวัดสังกัดธรรมยุตเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นวัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม ปัจจุบัน) , วัดสุทัศนาราม , วัดไชยมงคล (ทั้ง 3 วัดอยู่ติดบริเวณทุ่งศรีเมือง) วัดสระแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร และสุดท้ายวัดหอก่อง อ.มหาชนะชัย  ท่านพันธุโล (ดี)ท่านมรณภาพที่วัดสระแก้ว เมืองพิบูลมังสาหารรวมอายุได้ 70 ปี เจ้าอาวาสรูปที่ 2 คือ พระอธิการเพ็ง รูปที่ 3 พระอธิการเพชร รูปที่4 พระอธิการสีโห รูปที่ 5 พระอธิการสี  และมาติดตามรูปที่6 พระญาณรักขิต ( สิริจันโท จันทร์ )ต่อมาเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์  และรูปที่ 7 พระราชมุนี (ติสโส อ้วน) ต่อมาเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งทั้ง2 ท่าน เป็นผู้จุดประกายการศึกษาอย่างกว้างขวางและเป็นที่มาของคำขวัญที่ว่า อุบลราชธานี เมืองแห่งนักปราชญ์ ( สมัยรัชกาลที่ 7 .. 2478 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร  มีนามเต็มว่า  วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ) มีนามว่าพระญาณรักขิต ต่อมาได้รับการยกย่องว่า เป็นจอมปราชญ์ เนื่องจากเป็นผู้ส่งเสริมและวางระบบการศึกษาในภาคอีสานและมีคำขวัญที่ว่า อุบลเมืองแห่งนักปราชญ์ มาจนทุกวันนี้  พระญาณรักขิตต่อมา คือ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( สิริจันโท จันทร์  สุภสร )  เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2399 ซึ่งตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง ที่บ้านหนองไหล  .หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี พ.. 2412 ที่วัดบ้านหนองไหลบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนทีวัดศรีทอง     (วัดศรีอุบลรัตนาราม) ในปี 2420 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยท่านเทวทัมมี (ม้าว)เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีพ.. 2422ได้เดินทางไปศึกษาในกรุงเทพมหานครอยู่และศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดเทพศิรินทราวาส ต่อมาย้ายไปพำนักและศึกษาที่วัดบุปผารามสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ในปี พ.. 2429  เมื่อกลับไปจำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาสสอบเปรียญธรรม 4 ประโยคได้ในพ.. 2437 ผลงานในด้านการศึกษา ท่านเป็นผู้วางรากฐานการศึกษา ภาษาไทย ภาษาบาลี ให้มีความมั่นคงเมื่อท่านกลับมาอยู่เมืองอุบลราชธานี ในปีพ..2430 ริเริ่มจัดการศึกษาให้เป็นปึกแผ่น ได้ตั้งโรงเรียนบูรพาสยามเขต ที่เมืองนครจำปาศักดิ์ ( สปป.ลาว)ตั้งโรงเรียนอุบลวิทยาคม ที่วัดสุปัฏนาราม ตั้งโรงเรียนอุดมวิทยากร ที่วัดในเมืองพนานิคม ผลการตั้งโรงเรียนทำให้การเรียนภาษาไทยและบาลีแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเมื่อท่านกลับไปจำพรรษาที่กรุงเทพมหานคร ได้เป็นครูใหญ่สำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส  เป็นกรรมการสภามหามกุฏราชวิทยาลัย  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการศึกษาภาคอีสาน ท่านได้จัดการศึกษาภาษาไทย และบาลีให้แพร่หลายไปทั่วภาคอีสาน  ในด้านการปกครองท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการบริหารคณะสงฆ์เป็นจำนวนมากเป็นต้นว่าเจ้าอาวาสวัดมหามาตยารามนครจำปาศักดิ์ เจ้าคณะสังฆปาโมกข์นครจำปาศักดิ์  เจ้าคณะมณฑลอีสาน   เจ้าคณะมณฑลจันทบุรี  เจ้าคณะมณฑลราชบุรี  เจ้าคณะมณฑลกรุงเทพฯ เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส เป็นต้น  คนอีสานและชาวอุบลราชธานีต่างภาคภูมิใจที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นผู้ส่งเสริมและวางระบบการศึกษาในภาคอีสานได้รับการยกย่องตลอดมาว่า เป็นจอมปราชญ์ของชาวอุบลราชธานี หรือเมืองอุบลเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์ ท่านมรณภาพ วันที 19 กรกฏาคม พ.. 2475 สิริรวมอายุได้ 77 ปี              พระเถระซึ่งเคยเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 7ในปี พ.. 2446  คือ พระราชมุนี ต่อมาคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสโส  อ้วน  แสนทวีสุข ) ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นพระนักเทศน์ นักพัฒนา นักปรกครอง นักประพันธ์ ของจังหวัดอุบลราชธานี  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส  อ้วน) เกิดวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2410 ที่บ้านแคน ต.ดอนมดแดง อ.ดอนมดแดง (เดิมเป็น อ.เมืองอุบลฯ) .อุบลราชธานี  หมู่บ้านนี้นับได้ว่ามีเกาะดอนมดแดง เป็นที่เริ่มต้นการอพยพหนีภัยสงครามมาตั้งบ้านเมืองครั้งแรกของเจ้าคำผง เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก  ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 19 ปีในพ..2429ที่วัดบ้านสว่าง อ.สว่างวีรวงศ์ในปัจจุบัน ย้ายไปศึกษาที่วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) และได้อุปสมบทที่นี่มี    พระเทวธัมมี(ม้าว)เป็นพระอุปัชฌาย์          พระโชติปาลเถระ(ทา)เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)เป็นอุเทศาจารย์ ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดศรีทองระยะหนึ่งเมื่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ได้รับตำแหน่งครูบาลีที่วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ท่านก็ได้ย้ายไปอยู่ด้วยศึกษาเล่าเรียนจนจบเปรียญตรีและโทตามลำดับในพ..2442 ต่อมาพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้ก่อตั้งโรงเรียนอุบลวิทยาคมที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ได้รับมอบหมายกลับจังหวัดอุบลราชธานีมาเป็นครูสอนภาษาไทย และภาษาบาลี และเป็นครั้งแรกของจังหวัดอุบลราชธานีที่มีการเรียนการสอนภาษาไทยและบาลีท่านได้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้ซึ่งต่อมาเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดสำหรับพระภิกษุสามเณร และลูกหลานชาวอุบลฯได้ศึกษาเล่าเรียน   ท่านมีความสามารถด้านการศึกษาและการปกครอง สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม   ได้สร้างวัดพระศรีมหาธาตุเพื่อเป็นอนุสรณ์สมัยประชาธิปไตยเสร็จในพ.. 2485      ได้นิมนต์ท่านเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านเป็นนักเทศน์ นักประพันธ์  เจ้าของคติธรรมคำขวัญเตือนใจอันลึกซึ้งทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม  คดีโลก เช่น ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ คดีธรรมเช่น ผู้หาบโลกอยู่ในระดับต่ำ ผู้หิ้วโลกอยู่ในระดับกลาง ผู้วางโลกอยู่ในระดับสูง และเป็นผู้เสกประเทศไทยทั้ง 4 ภาคเป็นถิ่นต่างๆดังนี้ เสกภาคกลางเป็นถิ่นจอมไทย ภาคเหนือเป็นถิ่นไทยงาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นถิ่นไทยดี และภาคใต้เป็นถิ่นไทยอุดม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(ติสโส อ้วน)นับว่าเป็นพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นพระเถระนักบริหารปกครองที่มีชื่อเสียงอย่างมากในวงการคณะสงฆ์ของเมืองไทยท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสังฆนายกองค์แรกของคณะสงฆ์ไทยด้วย ในจังหวัดอุบลราชธานีถือได้ว่าท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่อีกรูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเป็นปราชญ์เมืองอุบลฯ  ชาวเมืองอุบลฯสร้างอนุสรณ์เพื่อเป็นเกียรติต่อท่านดังนี้                   -    มีการสร้างอนุสรณ์รูปปั้นให้ประชาชนทั่วไปสักการะบูชาที่ทุ่งศรีเมือง   คู่กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ด้านหลังศาลหลักเมือง ติดกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ-          เปลี่ยนชื่อโรงเรียนอุบลวิชาคมวัดสุปัฏนารามวรวิหารเป็นโรงเรียนสมเด็จ -          ชาวอุบลฯจำนวนมากขอเปลี่ยนนามสกุลเป็น  แสนทวีสุข ตามท่าน-          ตั้งชื่ออำเภอสว่างวีรวงศ์ (บ้านสว่าง + วีรวงศ์) .อุบลราชธานีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน แสนทวีสุข) มรภาพ เมื่อ 26 มกราคม 2499ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ สิริอายุได้ 89 ปี โดยภาพรวมแล้ววัดนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในภาคอีสานเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ภาษาบาลี มีพระอุโบสถโดดเด่นด้านศิลปะ 3 สกุลรวมอยู่ในหลังคาเดียวกัน คือหลังคาเป็นทรงไทยประยุกต์ ตรงกลางเป็นศิลปะแบบยุโรป ส่วนฐานเป็นศิลปะแบบขอมโบราณ ผู้ดำเนินการก่อสร้างคือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( ติสโส  อ้วน แสนทวีสุข ) หลวงสถิตวิมานการ(ชวน สุปิยพันธ์) ผู้ออกแบบ เตรียมอุปกรณ์ก่อสร้างแต่พ..2460 ลงมือก่อสร้างแต่พ..2463 สร้างเสร็จเมื่อพ.. 2473 ผูกพัทธสีมาจัดงานฉลอง พ..2479 ขนาดความยาว 34 เมตร กว้าง 20 เมตร สูง 22 เมตร     สิ้นค่าก่อสร้างสมัยนั้น จำนวน 70.000 บาท ภายในพระอุโบสถ    มีพระพุทธรูปประธานคือพระสัพพัญญูเจ้า หล่อด้วยโลหะผสมขัดเงาเมื่อปี พ..2459 และที่สำคัญคือพระพุทธรูปพระแก้วขาวเพชรน้ำค้างที่ศักดิ์สิทธิ์ชาวเมืองอุบลราชธานีให้ความเคารพนับถือในช่วงเทศกาลปีใหม่ทุกปีทางวัดได้จัดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปกราบไหว้และสรงน้ำเพื่อเป็นสิริมงคล เหมือนกับที่วัดศรีอุบลรัตนาราม มีพิธีสรงน้ำช่วงเทศกาลสงกรานต์ทุกปี และมีพระพุทธรูปที่สำคัญอีกหลายองค์ วัดสุปัฏนารามนอกจากจะเป็นต้นแบบสายธรรมยุตแล้วยังเป็นแหล่งให้การศึกษาที่สมบูรณ์ในเขตอีสาน มีการตั้งโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดอุบลฯคือ รร.อุบลวิทยาคม เปลี่ยนมาเป็น รร.อุบลวิชาคม และปัจจุบันคือ รร.สมเด็จ ซึ่งเป็นโรงเรียนการกุศลของวัด ในสมัยรัชกาลที่ 7  .. 2478 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร จึงมีนามเต็มว่า วัดสุปัฏนารามวรววิหาร  ตั้งแต่สร้างวัดมาแต่พ.. 2396 จนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 1. พระอธิการดี  พันธุโล 2. พระอธิการเพ็ง 3. พระอธิการเพชร 4. พระอธิการสีโห 5.พระอธิการสี 6. พระญาณรักขิต (ต่อมาคือพระอุบาลีคุณูปมาจารย์  สิริจันโท จันทร์  สุภสร  จอมปราชญ์หรือนักปราชญ์เมืองอุบลฯ) 7. พระราชมุนี (ต่อมาคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสโส  อ้วน  แสนทวีสุข พระนักปราชญ์ นักเทศน์ นักปกครองฯลฯ) 8. พระครูประจักษ์อุบลคุณ 9. พระเทพบัณฑิต ญาณชาโล (ญาณ) 10. พระเทพกวี เสนโก (นัด  ทับทอง) 11.พระโพธิญาณมุนี ปภาโส (ภา) 12.พระวิจิตรธรรมภาณี สุขปุญโญ (สิงห์)  13.พระรัตนมงคลมุนี ตปนิโย (ยงยุทธ) 14.พระมหาทองจันทร์ (วชิรานนท์ บุญเย็น /ดีเจบ่าวนนท์ คนมักจ่ม เรียบเรียง) 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

  ความคิดเห็นเกี่ยวกับ: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
จำนวนข้อความทั้งหมด:  9
1
แสดงความคิดเห็น
Krystallynn

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 9  « on 19/11/2556 5:43:00 IP : 23.226.224.213 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Lottie

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 8  « on 18/11/2556 18:00:00 IP : 78.47.191.253 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Jetsyn

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 7  « on 18/11/2556 1:33:00 IP : 206.176.239.103 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Rosa

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 6  « on 17/11/2556 10:41:00 IP : 177.11.213.7 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Kaedon

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 5  « on 16/11/2556 1:19:00 IP : 162.234.83.50 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Danuporn

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 4  « on 14/5/2556 14:16:00 IP : 103.14.20.28 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
For the love of God, keep writing these arteilcs.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Oralia

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 3  « on 12/5/2556 21:57:00 IP : 177.224.76.94 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
I can't believe I've been going for years without knownig that.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Madina

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 2  « on 12/5/2556 18:01:00 IP : 85.224.254.18 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 
Many many quality piotns there.
 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
Tuesday

Posts: 0 topics
Joined: none

ความคิดเห็นที่ 1  « on 24/11/2555 14:27:00 IP : 173.234.53.98 »     Edit Topic
Re: วัดสุปัฏนารามวรวิหาร อุบลฯโดย บ่าวนนท์ คนมักจ่ม
 

His public defender, DeWayne Franklin Perry, declined comment Tuesday. 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share
 
1
Reply topic :: แสดงความคิดเห็น
ชื่อผู้โพสต์:  เช่น John
ภาพไอคอน:
icon
แปะรูป:
 
รายละเอียด:
Emotion:




Security Code:
Verify Code 
 
   Bookmark and Share
   Main webboard   »   เว็บบอร์ด
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 274,338 Today: 41 PageView/Month: 144

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...